การจัดการยางล้อใช้แล้ว (End-of-Life Tire Management)
End-of-life tires คือยางล้อใช้แล้วที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้อีก (เป็นยางที่ผานการหล่อดอกหรือการ เซาะร่องแล้ว) ยางล้อใช้แล้วเกิดจากยางล้อทุกประเภทที่ใช้ใน รถจักรยานยนต์รถยนต์ 4 ล้อ, รถบรรทุก, เครื่องบิน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะพบว่ามาจาก รถยนต์และรถบรรทุก
มีการคาดการณ์ว่าในทุกๆปี มียางล้อใช้แล้วเกิดขึ้นเป็นจานวนทั้งหมดกว่า 1 พันล้านเส้น การกาจัด ยางล้อใช้แล้วเหล่านี้ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และวิธีการที่ใช้กำจัดเป็นสำคัญ ซึ่งหลายๆประเทศ ต่างผลักดันประเด็นนี้โดยได้รบการสนับสนุนจากรัฐ ผู้ผลิตยางล้อ และอุตสาหกรรมยางโดยรวม เห็นได้จากภาพข้างล่าง ประเทศอุตสาหกรรมยางล้อรายใหญ่มีการจัดการยางล้อใช้แล้วอย่างมี ประสิทธิภาพถึงประมาณร้อยละ 90 ของยางล้อทั้งหมด
อัตราการจัดการยางล้อใช้แล้วในแต่ละภูมิภาคที่มา: ETRMA, JATMA, RMA
หลังจากที่ยางล้อใช้แล้วถูกถอดออกจากยานยนต์ จะถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะที่เห็นชัดคือเป็นพลังงาน ทั้งที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงโดยตรงซึ่งใช้กันมากในโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ นำไปสกัดเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทดแทนจากยาง (Pyrolysis) หรือเป็นวัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่ ทั้งในงานวิศวกรรมโยธาโดยใช้เป็นส่วนผสมของการสร้างถนน สนามหญ้าเทียม หรือใช้เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบในอุตสาหกรรม เป็นต้น
เปรียบเทียบค่าความร้อนของยางล้อเปรียบเทียบกับเชื้อเพลิงอื่น
ที่มา: End-of-Life Tyre Management: Storage Options, MWH New Zealand Ltd.
สาหรับยางล้อใช้แล้วที่ไม่ได้เข้าสู่ตลาด end-use นั้น มักถูกนาไปฝังกลบ หรือทิ้งอย่างผิดกฎหมาย ในคลังสินค้าหรือตามริมถนน ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม เสี่ยงต่อการเกิดเพลิงไหม้ยิงไปกว่านั่้น การฝังกลบนั้นทำให้สิ้นเปลื้องพื้นที่ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทรัพยากรที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อยางอื่่น
การจัดการยางล้อใช้แล้วในต่างประเทศที่ประสบความสาเร็จมี 3 วิธีหลักๆ ได้แก่- ระบบผู้ผลิตรับผิดชอบ (Producer responsibility system) การจัดการยางล้อเป็นหน้าที่ของผู้ผลิตและผู้นำเข้า ด้วยวิธีการนี้ผู้ใช้ยางล้อถูกเรียกเก็บ ค่าธรรมเนียมเมื่อซื้อยางจากร้านค้า ซึ่งค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะถูกส่งไปให้กับผู้ผลิตยาง เพื่อใช้ในการจัดการยางล้อต่อไป ในบางทวีป ผู้ผลิตยางล้อสนับสนุนยางล้อใช้แล้วว่าเป็นทรัพยากรชนิดหนึ่ง European Tyre and Rubber Manufacturers Association (ETRMA) ได้จัดตั้ง “The Used Tyres Group” เพื่อสนับสนุนทฤษฎีที่ให้ยางล้อใช้แล้วว่าเป็นทรัพยากร และนำเสนอกฎระเบียบ และการควบคุมการจัดการที่เหมาะสม
- ในประเทศญี่ปุ่น The Japan Automobile Tyre Manufacturer Association (JATMA) ส่งเสริม 3Rs- Reduce, Reuse และ Recycle เพื่อรณรงค์การวิจัยและพัฒนาการรวบรวมยาง ล้อใช้แล้วนำกลับมาใช้ใหม่รวมทั้งยังได้ดำเนินการในเรื่องของการกำจัดยางล้อที่ถูกทิ้งอยางผิดกฎหมาย
- ในประเทศเกาหลีใต้ผู้ผลิตและผู้นำเข้ายางล้อจะต้องจ่ายค่ามัดจำซึ่งสามารถได้รับคืนหากมีการรวบรวมยางใช้แล้ว
- ในบราซิล ให้ผู้นำเข้าจัดการยางล้อใช้แล้วให้มากกว่าที่นำเข้าเป็นจำนวนร้อยละ 20 ต่อปี
- จ่ายภาษี (Tax system) รัฐเป็นผู้เรียกเก็บภาษีซึ่งถูกเก็บจากราคาขายยาง โดยภาระหน้าที่การจัดการยางล้อใช้แล้ว เป็นหน้าที่ของภาครัฐ ประเทศโครเอเชีย, เดนมาร์ก, ลัตเวีย และสโลวาเกีย ใช้ระบบจ่ายภาษีนี้
- ตลาดเสรี (Free market system) กลุ่มอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดยางล้อใช้แล้วจะดำเนินการแบบเสรี ตามความสมัครใจและมีการแข่งขันกันผ่านกลไกการตลาด ประเทศออสเตรเลีย, เยอรมนี, ไอร์แลนด์, นิวซีแลนด์, สวิตเซอร์แลนด์, อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ใช้หลักเกณฑ์ของตลาดเสรีนี้แต่มีการใช้กฎหมายควบคุมในเรื่องของการ เคลื่อนย้าย การกำจัด และการจัดเก็บยางล้อใช้แล้ว
ในสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตยางร่วมมือกับ Rubber Manufacturer Association (RMA) ส่งเสริม การจัดการยางล้อใช้แล้วและพัฒนาตลาดยางล้อใช้แล้วต่อไป เพื่อการตอบสนองต่อประเด็นที่รัฐให้ความสนใจนี้ CEOs ของบริษัทยางล้อชั้นนาในยุโรป, ญี่ปุ่น, เกาหลี และอเมริกาเหนือ จึงร่วมมือกันก่อตั้ง Tyre Industry Project (TIP) ขึ้นในปี 2005 โดย ทำงานร่วมกันภายใต World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) เป้าหมายของ TIP คือ ดูแลแก้ไขผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและการใช้ยางล้อ ซึ่งคณะทำงานได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาความเข้าใจระบบการจัดการยางล้อใช้แล้วในทัวทุกมุมโลก โดยมุ่งสู่การรณรงค์การจัดการยางล้อใช้แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเข้าดูผลงานนี้ได้ ตามลิงค์
End-of-Life Tires: A Framework for Effective ELT Management Systems ซึ่งเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2010 นั้น มีเนื้อหาครอบคลุมในทุกแง่มุมของการจัดการยางล้อใช้แล้ว รวมถึงการระบุผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่ของการจัดการและความแตกต่างของทางเลือกในการนายางล้อกลับมาใช้ใหม่ และเน้นให้เห็นถึงความแตกต่างของระบบการจัดการยางล้อใช้แล้วทั่วโลก รวมทั้งมีรายการตรวจสอบ (checklist) สาหรับองค์กรที่สนใจจะเริ่มดำเนินการหรือปรับปรุงระบบการจัดการยางล้อใช้แล้วในประเทศ